ความรู้พื้นฐาน เรื่องทั่วไป เกี่ยวกับป่าชายเลน

ความรู้พื้นฐาน เรื่องทั่วไป เกี่ยวกับป่าชายเลน
ป่าชายเลน หมายถึง กลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลในเขตน้ำทะเลลงต่ำสุดและน้ำทะเลขึ้นสูงสุด พบได้ในบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำเค็มในมหาสมุทรและน้ำจืดจากแผ่นดิน รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้พืชที่ขึ้นในป่าชายเลนมีลักษณะทางสรีรวิทยาและการปรับตัวทางโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมนี้ได้ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไม้สกุลโกงกาง (Rhizophoraceae) เป็นสำคัญ และมีไม้สกุลอื่นขึ้นปะปน

ระบบนิเวศป่าชายเลน (Mangrove ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ (Ecotone) ระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน (Tropical region) และกึ่งร้อน (Subtropical region) ของโลก ซึ่งมีป่าชายเลนขึ้นอยู่ เป็นระบบที่นำเอาทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุต่างๆ จากบกและทะเลมาปรุงแต่งให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าสูง ขณะเดียวกันตัวเองจะทำหน้าที่เป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องและรักษาไว้ซึ่งความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ของมวลมนุษย์ชาติอย่างยั่งยืน ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีคุณค่ามหาศาลและมีความสำคัญต่อมนุษย์หลายรูปแบบ คุณประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การใช้ประโยชน์จากไม้ชายเลนเพื่อเผาถ่าน เนื่องจากต้นไม้ป่าชายเลนปลูกง่ายและโตเร็ว จึงมีรอบการตัดเร็วกว่าป่าบกหลายเท่า ไม้ในป่าชายเลนนอกจากใช้เผาถ่านแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ คือ ใช้เป็นไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ก่อสร้าง ทำแพปลา อุปกรณ์ประมง และเฟอร์นิเจอร์ ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งทำมาหากินของคนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลโดยอำนวยปัจจัยการดำรงชีพหลายประการ เช่น ไม้สำหรับใช้กับอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เปลือกไม้บางชนิดใช้ย้อมแหอวนเพิ่มความทนทาน น้ำผึ้งจากรังผึ้งในป่าชายเลน ผลของต้นจากกินเป็นของหวาน ใบจากใช้มวนยาสูบและมุงหลังคา ตัวหนอนและสัตว์น้ำเป็นอาหารที่สำคัญ พืชหลายชนิดใช้เป็นยารักษาโรค เช่น เหงือกปลาหมอ ตาตุ่ม นอกจากนี้ชาวบ้านยังประกอบอาชีพการประมงชายฝั่งโดยการจับสัตว์น้ำในป่าชายเลนอีกด้วย

ป่าชายเลนยังทำหน้าที่เสมือนเขื่อนป้องกันคลื่นลมจากทะเลที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เมื่อได้รับความเสียหายจากพายุ ป่าชายเลนช่วยลดความรุนแรงจากพายุไม่ให้บ้านเรือนชายฝั่งต้องเสียหาย คนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลจึงมักปลูกไม้ชายเลนไว้เป็นแนวหนาทึบเพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงจากคลื่นลม ในขณะเดียวกันป่าชายเลนยังทำหน้าที่ดักกรองสิ่งปฎิกูล และสารก่อมลพิษต่างๆ ที่ไหลปนมากับน้ำไม่ให้ลงสู่ทะเล ตะกอนต่างๆ จะถูกซับไว้รวมถึงคราบน้ำมันจากเครื่องยนต์เรือและที่รั่วไหลก็จะถูกดูดซับไว้เช่นกัน

ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย วางไข่ หาอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น กุ้ง ปูทะเล หอยนางรม ปลากระบอก ปลากะรัง นอกจากนี้ยังเป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหารของท้องทะเล เป็นแหล่งผลิตอาหาร โดยการย่อยสลายซากพืชเป็นอินทรีย์สารที่มากถึง 1 ตันของน้ำหนักแห้งต่อขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศอื่นอย่างใกล้ชิดทั้งปะการังและหญ้าทะเล

ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นเอกภาพ เนื่องจากป่าประเภทนี้ขึ้นอยู่เฉพาะในแถบร้อน และอยู่ตามชายฝั่งทะเลระหว่างบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด องค์ประกอบและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่าชายเลนประกอบด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างของระบบนิเวศและส่วนที่เป็นหน้าที่หรือกิจกรรมของระบบนิเวศ

โครงสร้างส่วนที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ พวกอนินทรีย์ เช่น ธาตุอาหาร แร่ธาตุ น้ำ ส่วนพวกอินทรีย์ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ โครงสร้างส่วนที่มีชีวิต ประกอบด้วย ผู้ผลิต คือพวกที่สร้างอาหารได้เอง เช่น สาหร่ายและพืช ผู้บริโภค ไม่สามารถสร้างอาหารได้ต้องพึ่งพาอาศัยผู้ผลิต เกิดการถ่ายทอดพลังงานเป็นห่วงโซ่อาหาร ซึ่งมีหลายระดับ คือ กลุ่มกินพืชเป็นอาหาร เช่น แพลงก์ตอน กุ้ง ปู หอย กลุ่มที่กินสัตว์เป็นอาหาร เช่น ปลา นก และกลุ่มที่กินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ มนุษย์ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกจุลินทรีย์ ทำหน้าที่ย่อยซากพืช ซากสัตว์ที่ตายลง เกิดเป็นธาตุอาหารวนเป็นวัฏจักรคืนสู่ดินเพื่อประโยชน์ต่อผู้ผลิตต่อไป

พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ในพื้นที่ป่าชายเลน มีความหลากหลายและมีชนิดของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศในแต่ละแห่ง แต่ส่วนมากแล้วจะพบมากในบริเวณดินโคลนตามริมฝั่งทะเล แม่น้ำ ลำคลอง เกาะ ทะเลสาบ และอ่าวที่มีน้ำทะเลท่วมถึงอยู่เป็นประจำ และที่สำคัญคือ บริเวณดังกล่าวมักจะไม่มีคลื่นลมแรง สำหรับประเทศไทยจะพบได้ในบริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก ภาคกลาง และในแถบจังหวัดภาคใต้ พันธุ์ไม้ที่สำคัญบางชนิดที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนแบ่งออกตามวงศ์และสกุลต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. สกุลโกงกาง ได้แก่ โกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่
2. สกุลไม้ประสัก ได้แก่ พังกาหัวสุม ประสัก ถั่วดำ ถั่วขาว และรุ่ย
3. สกุลไม้โปรง ได้แก่ โปรงแดง และโปรงขาว
4. สกุลไม้แสม ได้แก่ แสมทะเล แสมขาว แสมดำ และสำมะง่า
5. สกุลไม้ลำพู ลำแพน ได้แก่ ลำพูทะเล ลำแพน และลำแพนหิน หรือลำแพนทะเล
6. สกุลไม้ตะบูน ได้แก่ ตะบูนขาว ตะบูนดำ และตะบัน
7. สกุลไม้ฝาด ได้แก่ ฝาดแดง และฝาดขาว
8. สกุลเหงือกปลาหมอ ได้แก่ เหงือกปลาหมอดอกสีฟ้าหรือนางเกรง และเหงือกปลาหมอดอกสีขาว
9. สกุลไม้ตีนเป็ด ได้แก่ ตีนเป็ดทะเล และตีนเป็ดน้ำ
10. หงอนไก่ทะเล
11. ตาตุ่มทะเล
12. เล็บนาง
13. แคทะเล
14. มังคะ
15. เทียนทะเล
16. จาก
17. ไม้พื้นล่างในป่าชายเลน ถ้าหากเป็นพื้นที่มีน้ำทะเลท่วมถึงอยู่เสมอๆ มักจะไม่ค่อยพบ แต่หากบริเวณนั้นมีตะกอนมาทับถมจนระดับสูงขึ้นกลายเป็นที่ดอนขึ้นมา มักจะมีพันธุ์ไม้ล่างขึ้นอยู่ ได้แก่ ปรงทะเล ต้นเหงือกปลาหมอดอกสีขาว ปอทะเล โพธิ์ทะเล และเป้ง เป็นต้น
18. กล้วยไม้ในป่าชายเลน ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี มีลักษณะเด่นในเรื่องของสีและรูปร่างของดอกที่จะนำไปผสมพันธุ์ ที่สำคัญมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ รองเท้านารีสีขาว รองเท้านารีเหลืองตรัง รองเท้านารีจังหวัดกระบี่ รองเท้านารีม่วงสงขลา และรองเท้านารีช่องอ่างทอง
19. พันธุ์ไม้ผลัดใบในป่าชายเลน พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังปรากฏว่ามีพันธุ์ไม้ผลัดใบบางชนิดปะปนอยู่ด้วย ได้แก่ ไม้ตาตุ่มทะเล ตะบันหรือตะบูนดำ ลำแพน เป็นต้น

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป่าชายเล

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ป่าชายเลนกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากพื้นที่ป่าจำนวนมากถูกทำลายจน
หมดสภาพ และพื้นที่ที่เหลือได้รับผลกระทบจนเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนไม่น้อย จนเหลือเนื้อที่
ลดน้อยลงทุกปี แม้ว่ารัฐบาล จะได้ให้ความสำคัญโดยการออกมาตรการต่างๆ ให้กรมป่าไม้และ
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรับดำเนินการ เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลานป่าและเร่งรัดการปลูกและ
ฟื้นฟูป่าชายเลน แต่ก็เพียงมีผลให้เนื้อที่ป่าชายเลนลดลงแต่ละปีน้อยกว่าเดิมเท่านั้น

แนวทางการจัดการป่าชายเลนแบบยั่งยืน

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักได้ดำเนินการ เพื่ออนุรักษ์
และพัฒนาป่าชายเลนมาโดยตลอด และได้ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดขึ้น
ในระดับชาติ ซึ่งบางกรณีเป็นมาตรการรีบด่วนที่ระดมกำลังจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าไป ให้การ
สนับสนุนและร่วมดำเนินการด้วย แต่ผลการดำเนินงานยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้อง อยู่ตลอดเวลา และหากสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่ในลักษณะนี้
รัฐอาจไม่สามารถรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้อย่างน้อย 1 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2544ตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544)

 

แนวทางที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ เพื่อรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ได้ตามเป้าหมาย และสามารถ
อำนวยประโยชน์ได้ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ดังนี้

 

1. เร่งรัดพัฒนา และส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น ในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ด้วยวิธีการให้ความรู้ ความ เข้าใจ ที่จะก่อให้เกิดจิตสำนึกและเห็นความจำเป็นในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน โดยรัฐควรให้สิทธิและความมั่นคงรวมทั้งสิ่งจูงใจ ในประโยชน์ที่ประชาชนเหล่านี้ จะได้รับจากการคุ้มครองป้องกันและฟื้นฟูดูแลรักษาป่าชายเลน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และความช่วยเหลือทางด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ในการจัดการ บริหารป่าชุมชนชายเลนต่อไป

2. ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการบุกรุทำลาย ยึดถือ ครอบครอง และจับจองเพื่อการได้มาซึ่งเอกสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนโดยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้การอนุรักษ์ และการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน สามารถดำเนินการได้ผลอย่างแท้จริง และเป็นการขจัดปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนให้หมดไป

3. ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนอย่างละเอียดและใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการป่าไม้ และการจัดการที่ดินป่าชายเลนให้เหมาะสมกับศักยภาพ ก่อนที่การอนุญาตทำไม้ในระบบสัมปทานระยะยาวในรอบที่ 2 จะสิ้นสุด เพื่อจะได้ดำเนินการให้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นป่าอนุรักษ์ และป่าชุมชนตามความเหมาะสม ภายใต้แผนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

4. ส่งเสริม และสนับสนุน ให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชน โดยให้มีการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและชนิดที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อดำรงความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าชายเลน และความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย

5. ปรับปรุงระบบการอนุรักษ์ และป้องกันรักษาป่าชายเลน ให้มีการร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น และให้มีการพัฒนาและปรับปรุงบทบาทของเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าและหน่วยจัดการป่าชายเลน จากการป้องกันปราบปราม และการควบคุมการทำไม้ มาเป็นนักส่งเสริมและพัฒนาป่าชายเลนมากขึ้น

6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของกรมป่าไม้ ให้มีโครงสร้างที่เป็นเอกภาพ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ที่ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างเพียงพอ มีความร่วมมือและประสานงานที่ดี

7. ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มบทบาท ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษาวิจัย การฝึกอบรม ตลอดจนการประชุมสัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการ อนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนแบบยั่งยืน


แนวทางการแก้ไขปัญหา

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1. เพื่อเป็นการหยุดยั้งการแผ่ขยายการทำลายป่าชาย

เลน จึงควรที่จะห้าม
กิจกรรมใด ๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนได้

2. การตอบสนองความต้องการใด ๆ ของมนุษย์ จะ

ต้องเป็นไปโดยไม่ทำให้
ส่งผลเสียหายต่อพืชและสัตว์ในเขตอนุรักษ์

3. ป่าชายเลนควรจะได้รับการจัดการในรูปแบบ

ของการจัดการทรัพยากรที่เกิดทดแทนได้ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทั้งทาง

ตรงและทางอ้อม ตลอดจนการให้บริการทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่าง

ต่อเนื่องและยาวนาน

4. ควรจะถือว่าป่าชายเลนเป็นส่วนหนึ่งของเขตชาย

ฝั่งทะเล โดยไม่มีการแบ่งแยกการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ป่าชาย

เลน จะต้องคำนึงถึงลักษณะการพึ่งพอของป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่กับการใช้ที่ดิน

เพื่อการเก็บกักน้ำ และลักษณะความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างป่าชายเลนกับ

ผืนน้ำชายฝั่งที่อยู่ติดกัน

5. ควรจะมีการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวด

ล้อม สำหรับโครงการที่อยู่ในป่าชายเลนหรือที่อยู่ติดกับป่าชายเลน โดยถือว่า

ระบบนิเวศป่าชายเลนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และควรจะเน้นถึงความสำคัญ

ของกระบวนการภายนอกที่เกี่ยวข้องกัลแหล่งน้ำจืดและน้ำเค้ม และการผลิต

สารอาหาร

6. ควรจะมีการปรับปรุงฐานข้อมูลป่าชายเลน และ

แผนชาติเกี่ยวกับป่าชายเลนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7. รณรงค์ให้ประชาชนและผู้บกรุกป่าชายเลนเข้า

ใจถึงความสำคัญของป่าชายเลน และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าชาย

เลน

8. ชดเชยพื้นที่ป่าชายเลนที่สูญเสียไปโดยการปลูก

ทดแทนขึ้นม

ข้อความข้างบนนี้
เป็นเพียงแนวทางแก้ไขตามหลักวิชาการที่ได้มาจาก
แนวทางการแก้ไขปัญหา

1. เพื่อเป็นการหยุดยั้งการแผ่ขยายการทำลายป่าชาย

เลน จึงควรที่จะห้าม
กิจกรรมใด ๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนได้

2. การตอบสนองความต้องการใด ๆ ของมนุษย์ จะ

ต้องเป็นไปโดยไม่ทำให้
ส่งผลเสียหายต่อพืชและสัตว์ในเขตอนุรักษ์

3. ป่าชายเลนควรจะได้รับการจัดการในรูปแบบ

ของการจัดการทรัพยากรที่เกิดทดแทนได้ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทั้งทาง

ตรงและทางอ้อม ตลอดจนการให้บริการทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่าง

ต่อเนื่องและยาวนาน

4. ควรจะถือว่าป่าชายเลนเป็นส่วนหนึ่งของเขตชาย

ฝั่งทะเล โดยไม่มีการแบ่งแยกการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ป่าชาย

เลน จะต้องคำนึงถึงลักษณะการพึ่งพอของป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่กับการใช้ที่ดิน

เพื่อการเก็บกักน้ำ และลักษณะความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างป่าชายเลนกับ

ผืนน้ำชายฝั่งที่อยู่ติดกัน

5. ควรจะมีการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวด

ล้อม สำหรับโครงการที่อยู่ในป่าชายเลนหรือที่อยู่ติดกับป่าชายเลน โดยถือว่า

ระบบนิเวศป่าชายเลนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และควรจะเน้นถึงความสำคัญ

ของกระบวนการภายนอกที่เกี่ยวข้องกัลแหล่งน้ำจืดและน้ำเค้ม และการผลิต

สารอาหาร

6. ควรจะมีการปรับปรุงฐานข้อมูลป่าชายเลน และ

แผนชาติเกี่ยวกับป่าชายเลนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7. รณรงค์ให้ประชาชนและผู้บกรุกป่าชายเลนเข้า

ใจถึงความสำคัญของป่าชายเลน และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าชาย

เลน

8. ชดเชยพื้นที่ป่าชายเลนที่สูญเสียไปโดยการปลูก

ทดแทนขึ้นมา

ปัญหาของป่าชายเลน เสื่อมโทรม

ปัญหาของป่าชายเลน

          ประเทศไทย มีแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร มีส่วนที่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ประมาณร้อยละ 36 ของความยาวชายฝั่งเท่านั้น ซึ่งเป็นป่าชายเลนที่สำรวจในปี 2504 ประมาณ 2,299,375 ไร่ แต่จากการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนของกรมป่าไม้ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ในปี 2532 ปรากฏว่าพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดเหลือประมาณ 1,128,494 ไร่ โดยส่วนใหญ่กระจาย อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประมาณ 888,564 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 78.74 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด รองลงไปอยู่ในเขตภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคกลาง (หรือก้นอ่าวไทย) มีเนื้อที่ประมาณ 129,430 ไร่, 106,775 ไร่ และ 3,725 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.47, ร้อยละ 9.46 และร้อยละ 0.33 ของ
พื้นที่ป่าชายเลนทั้งประเทศตามลำดับ (ไพโรจน์, 2534)

          จากการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ มีส่วนสำคัญทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลง กล่าวคือ
ในช่วงปี 2504 – 2518 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 345,000 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 24, 643 ไร่
ในช่วงปี 2518 – 2522 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 158,700 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 39,675 ไร่
ในช่วงปี 2522 – 2529 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 568,001 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 81,143 ไร่
ในช่วงปี 2529 – 2532 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 99,153 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 33,060 ไร่

          ในช่วงปี 2504 – 2532 เนื้อที่ป่าชายเลนถูกทำลายทั้งสิ้น 1,170,881 ไร่
คิดเป็นร้อยละ 50.93 ของเนื้อที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ในปี 2504 หรือคิดเป็นอัตราการทำลายเฉลี่ยปีละประมาณ 41,817 ไร่

          สาเหตุสำคัญของการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนในช่วงหลังปี 2522 เนื่องจากมีการตื่นตัวในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนการลงทุนค่อนข้างสูง และมีระยะคืนทุนสั้นทำให้ธุรกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีเนื้อที่เลี้ยงเพิ่มขึ้นจาก 162,725 ไร่ ในปี 2522 เป็นประมาณกว่า 600,000 ไร่ ในปี 2529 หรือคิดเป็นร้อยละ 64.30 ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลายทั้งหมด ส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายตัวของชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการ
ขุดลอกร่องน้ำ มีการขยายตัวไม่มากนัก โดยในช่วงระหว่างปี 2523 – 2529 ประมาณ 328,581 ไร่ หรือคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 35.70 ของเนื้อที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย
ทั้งหมดจนถึงปี 2529 (ไพโรจน์, 2534)

          การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ยังทำให้เกิดการสูญเสีย และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นอย่างมาก ซึ่งลักษณะของผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นต่อป่าชายเลนนี้ จำแนกได้เป็น ประการใหญ่ ๆ (สนิท, 2532) คือ

          ประการแรก เป็นผลกระทบทางด้านกายภาพ และเคมีภาพ ได้แก่ อุณหภูมิน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ปริมาณธาตุอาหาร ความเค็ม สภาพทางอุทกวิทยา (การขึ้นลงของน้ำทะเลและปริมาณน้ำจืด) การตกตะกอน และน้ำขุ่นข้น ปริมาณสารพิษในน้ำ และการพังทลายของดิน เป็นต้น

          ประการที่สอง ผลกระทบทางด้านชีววิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงชนิด ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำ

          ประการสุดท้าย เป็นผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ (Ecological balance) เช่น การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทำลายที่อยู่ (habitat) การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหาร (food chain) ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่าชายเลนเอง และระบบนิเวศประเภทอื่น ๆ ในบริเวณชายฝั่งและใกล้เคียงป่าเลน

สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน

1. การใช้ประโยชน์ที่มากเกินไป การบุกรุกป่าชายเลนเพื่อหาผลผลิตจากป่าโดยตรงจนเกินขีดความสามารถของป่า ตลอดจนการอนุญาตให้เข้าตัดฟันป่าไม้ชายเลนมากเกินไป ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อป่าชายเลนโดยตรงในแง่ของการให้ผลผลิตและการบริการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว

          2. การแปรสภาพป่าชายเลน กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำบ่อปลา และการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย มักจะได้รับการพิจารณาว่ามีคุณค่าและได้รับการสนับสนุนให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มมากขึ้น

          3. กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนที่มากเกินไป รวมทั้งกิจกรรมที่ต้องอาศัยการาแปรสภาพป่าชายเลน อาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบด้านเศรษฐกิจสังคมสำหรับชุมชนชายฝั่งทะเลได้ ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ยังทำให้พืชและสัตว์หลายชนิดในป่าชายเลนต่างก็สูญพันธุ์ไปมากแล้ว


พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน

พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน

          ในป่าชายเลนไม่ใช่จะมีเพียงพันธุ์ไม้วงศ์โกงกางเพียงอย่างเดียวเท่านั้นยังมีพันธุ์ไม้ในวงศ์อื่นๆปะปนอยู่ด้วย ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ไม้ในป่าชายเลนโดยทั่วไปจะมีความสูงอยู่ประมาณ 20-30 เมตร นอกจากพงกาหัวสุมที่เป็นข้าวนอกนาสูงที่สุดของป่าชนิดนี้ได้ถึง 40 เมตร ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน แบ่งออกตามวงศ์ที่สำคัญที่สำคัญ บางชนิดได้ดังนี้

    1. สกุลไม้โกงกาง เป็นพระเอกของป่าชายเลนเลยก็ว่าได้ เขียวชอุ่มตลอดปี มี 2 ชนิด ได้แก่
    • โกงกางใบใหญ่ ( Rhizophora mucronata ) เป็นพืชที่มีลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มบริเวณเรือนยอด ใบมีขนาดใหญ่ ช่อดอกขนาดใหญ่ มี 3-5 ดอก และกลีบดอกมีขนปกคลุม
    • โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata ) ลักษณะคล้ายคลึงกับโกงกางใบใหญ่มาก แต่แตกต่างกันที่ ชนิดนี้มีใบขนาดเล็กกว่า ช่อดอกเล็กกว่า เพราะมีเพียง 2 ดอก และที่สำคัญกลีบดอกไม่มีขน

โกงกางใบใหญ่

โกงกางใบเล็ก
    1. สกุลไม้ประสักหรือพังกา มีหลายชนิดแต่ที่เด่นๆมี 4 ชนิดคือ
    • พังกาหัวสุมดอกแดง ( Bruguiera gymnorrhiza ) เป็นพืชที่ชอบขึ้นในดินเลนแข็งและน้ำท่วมถึง ลำต้นมีสีดำ เปลือกเป็นเกล็ดหนา ลำต้นกลม ใบคล้ายใบโกงกางใบเล็กแต่ต่างที่ไม่มีจุดสีดำที่ท้องใบ ดอกมีสีแดงสดหรือชมพูเรื่อๆสมกับชื่อ
    • พังกาหัวสุมดอกขาว ( Bruguiera sexangula ) ลักษณะคล้ายพังกาหัวสุมดอกแดง แต่ดอกมีสีขาวและมีโคนต้นและลำต้นที่กลม ส่วนเปลือกเรียบกว่า และพบมากในบริเวณที่ความเค็มต่ำ

พังกาหัวสุมดอกแดง

พังกาหัวสุมดอกขาว
    1. สกุลไม้โปรง มีชนิดเด่น 2 ชนิดคือ
    • โปรงแดง ( Ceriops tagal ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลางที่ต้นไม่ใหญ่นัก ชอบดินที่มีสภาพเป็นกรดและค่อนข้างเป็นที่ดอน มีลำต้นสีเหลืองถึงสีปูนแห้ง เมื่อมองบนต้นอาจจะเห็นต้นอ่อนที่ยาวประมาณ 15-25 ซม.แขวนห้อยบนกิ่งในทิศทิ้งตัวลงมา
    • โปรงขาว ( Ceriops decanda ลักษณะส่วนใหญ่คล้ายโปรงแดงมาก เพียงแต่มีต้นอ่อนขนาดสั้นกว่า เพียง 9-15 ซม.ติดอยู่บนกิ่งและทิ้งตัวอย่างสะเปะสะปะไม่มีทิศทางแน่นอน

โปรงแดง
    1. สกุลไม้แสม ที่เด่นๆ มี 4 ชนิดคือ
    • แสมทะเล ( Avicennia marina เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่พบมากในพื้นดินงอกใหม่และที่ดินเลนปนทรายมีใบสีเหลืองอ่อนห่อกลับเข้ามาเหมือนหลอดกลมๆ โชว์ให้เห็นท้องใบสีขาวนวล
    • แสมขาว ( Avicennia alba ) มักขึ้นปะปนกับแสมทะเลที่พื้นดินเลนปนทราย ลักษณะเด่นที่สะดุดตาแต่ไกลคือใบที่ละเอียดเล็กเป็นสีขาว-บรอนซ์ ดอกสีเหลือง ผลรูปไข่ยาวคล้ายผลพริกชี้ฟ้า
    • แสมดำ ( Avicennia offcinalis ผลรูปไข่ ปลายเป็นจะงอย ใบเป็นรูปไข่กลมป้อม ปลายใบมน หลังใบเป็นมันท้องใบสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่
    • สำมะงา ( Clerodendrum inerme ) เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่ขอบใบเรียบไม่มีหนาม กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนบนแยกออกเป็นกลีบสั้นๆขนาดเท่ากัน

แสมขาว
  1. สกุลไม้ลำพูน ลำแพน
    • ลำพูทะเล ( Sonneratia alba ) เป็นไม้เบิกนำของป่าชายเลนเช่นเดียวกับแสม ใบเป็นสีเขียวอ่อน ปลายมนคล้ายรูปหัวใจกลับด้าน ก้านใบด้านหลังและสีด้านในกลีบเลี้ยงเป็นสีชมพูสวยงามมาก
    • ลำแพน ( Sonneratia ovata )

ลำพูทะเล
  1. สกุลไม้ตะบูน
    • ตะบูน ( Xylocarpus granatum ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เหมือนต้นฝรั่งแต่ไปขึ้นในป่าชายเลน แล้วออกดอกสีขาวเป็นช่อตามกิ่ง มีผลกลมแข็งเมื่อสุกจะมีสีน้ำตาลแดงโตเท่าผลส้ม
    • ตะบัน ( Xylocarpus gangeticus ) พบมากตามชายหาดที่น้ำทะเลท่วมถึง ลักษณะใบคล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์บกแต่สั้นกว่า ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ผลกลมเหมือนน้ำเต้า

ตะบูนขาว

ตะบัน
  1. สกุลไม้ฝาด
    • ฝาดดอกแดง (Lumnitzera littoreaชอบขึ้นในที่ดอนหรือพื้นที่ค่อนข้างสูง ลำต้นสีดำ เปลือกแตกเป็นร่อง ดอกสีแดงจัดและออกเป็นกระจุกช่อดอกเกิดที่บริเวณปลายกิ่ง
    • ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemora ) ต่างกับฝาดดอกขาวที่ชอบขึ้นในที่ดินค่อนข้างแข็ง ส่วนลำต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลอ่อนและที่สำคัญออกดอกเป็นสีขาวเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง

ฝาดดอกแดง

ฝาดดอกขาว
  1. สกุลเหงือกปลาหมอ เช่น
    • เหงือกปลาหมอดอกม่วงหรือนางเกรง ( Acanthus illicifotius ) มักขึ้นในพื้นป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมแล้วและมีน้ำท่วมถึง ส่วนของขอบใบหยักและมีหนามแหลมคม ออกดอกสีฟ้าอมม่วงมีแถบสีเหลืองตรงกลางกลีบดอก

เหงือกปลาหมอดอกม่วง
  1. สกุลไม้ตีนเป็ด
    • ตีนเป็ดทะเล ( Cerbera odollam ) ดอกสีขาว แต่ตรงกลางดอกมีสีเหลือง กรวยของกลีบดอกสั้นกว่ากลีบดอกส่วนบน ผลทรงกลมเกิดเดี่ยวๆ

ดอกต้นตีนเป็ดทะเล

ผลต้นตีนเป็ดทะเล
  1. ไม้สกุลอื่นๆ ที่สำคัญ
    • ตาตุ่มทะเล ( Exocoecaria agallocha ) ลำต้นมีลักษณะพิเศษคือ เป็นตุ่มเป็นตา ใบปกติมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดจะเป็นสีเหลืองทั้งต้น ยางมีพิษหากเข้าตาจะทำให้ตาบอดได้
    • จาก ( Nypa frutican ) เป็นพืชกลุ่มเดียวกับปาล์ม ชอบขึ้นริมฝั่งคลองตามแนวป่าชายเลนหรือบริเวณน้ำกร่อย ชาวประมงนิยมมาทำเป็นหลังคาบ้าน ผลมีลักษณะแทงขึ้นมาเป็นทะลาย นำมาทำเป็นลูกชิดรับประทานได้ ส่วนของน้ำตาลนำมาทำยาแก้ริดสีดวงทวารได้ผลชะงัดนัก
    • เสม็ด ( Melaleuca leucadendron ) เป็นพืชยืนต้นที่อยู่เขตติดกับป่าบก ดอกเป็นสีขาว เปลือกนำมาชุบน้ำยาง ทำใต้จุดไฟ

ต้นตาตุ่มทะเล

ต้นจาก

ต้นเสม็ด

ดอกปอทะเล

ต้นโพธิ์ทะเล

ต้นรักทะเล

          จะเห็นได้ว่าพรรณไม้ในป่าชายเลน ส่วนใหญ่มีประโยชน์เป็นพืชในด้านสมุนไพรแทบทั้งสิ้น เช่น

    1. โกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ เปลือกใช้ต้มน้ำรับประทานเป็นยาสมานแก้ท้องร่วง คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดเรื้อรัง ภายนอกใช้เปลือกต้มน้ำล้างบาดแผลเรื้อรัง เปลือกตำพอกห้ามเลือดใยบาดแผลสดได้ดี 
    2. โปรงแดง เปลือกมีรสฝาดใช้ต้มน้ำล้างบาดแผล 
    3. โปรงขาว เปลือกมีรสฝาดจัดใช้เปลือกต้มน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด เปลือกตำพอกใช้ห้ามเลือด 
    4. แสมดำและแสมขาว แก่นจะมีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำแก้ลมในกระดูก แก้กษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาร เป็นยาขับเลือดเสียของสตรี 
    5. ตะบูนขาว ตะบูนดำ เมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด เปลือกต้ม และผลรับประทานแก้โรคอหิวาห์ 
    6. ตาตุ่ม เนื้อไม้ ควันที่เกิดจากการเผาไม้ ตาตุ่มใช้รักษาพวกที่เป็นโรคเรื้อนได้ดี ใบแก้ลมบ้าหมู 
    7. สำมะงา ใบใช้ภายนอก ตำพอก ต้มน้ำชะล้างบาดแผลหรือตากแห้งบดเป็นผงทาหรือโรยบริเวณที่เป็นแผล ใบสดต้มน้ำเคี่ยวชะล้างบริเวณที่เป็นฝี ผื่นคัน แผลเน่าเปื่อย 
    8. เหงือกปลาหมอดอกม่วง และเหงือกปลาหมอดอกขาว ทั้งต้น รากนำมาต้มอาบแก้พิษไข้ ส่วนหัวแก้ผื่นคัน แก้โรคผิวหนังทุกชนิด ถ้าใช้รับประทานเป็นยาพิษฝีดาษ 
    9. จาก ใบมีรสฝาดแก้ลมจรต่างๆ บัลเสมหะ และดับพิษเกือบทุกชนิด น้ำตาลจากจากใช้สมานแก้ริดสีดวงทวาร 
    10. ปรงทะเล ยางจากลำต้นใช้ทารักษาแผลหรือฝี เพื่อดูดหนองและดับพิษ

สัตว์ในป่าชายเลน

สัตว์ในป่าชายเลน

ป่าชายเลนเป็นแหล่งอุดมได้ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด นับตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตลอดจนสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งสัตว์เหล่านี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และระบบนิเวศทางทะเล

ตัวอย่าง สัตว์ที่พบในป่าชายเลน

ปู มีทั้งที่ขุดรูอยู่ตามพื้นโคลนใต้รากไม้ และการอยู่ตามรากโกงกาง

ขึ้นอยู่กับชนิด และการหา

อาหารของมัน ได้แก่ ปูเสฉวน ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูทะเล

 

 

กุ้ง ถ้าเป็นกุ้งเกย ที่มีขนาดเล็ก ชาวบ้านนิยมมาทำกะปิ กุ้งขนาดใหญ่

เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญนอกจากกุ้งแล้วยังมีสัตว์จำ

พวกเดียวกับกุ้ง นั่นคือ กั้งตั๊กแตน ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง

ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน

ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน

ป่าชายเลน มีระบบนิเวศที่มีคุณค่ามหาศาล และมีความสำคัญต่อมนุษย์หลายรูปแบบถือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ ซึ่งได้แก่ อินทรียวัตถุที่ย่อยสลายจากซากพืชหรือเศษใบไม้ ส่วนใหญ่ได้จากใบของพืชที่ร่วงหล่น นอกจากนี้ยังได้จากส่วนของ กิ่ง ก้าน ดอก และผลอีกด้วย ส่วนแหล่งอาหารอื่นๆ ในบริเวณปากแม่น้ำ ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ ในบริเวณป่าชายเลน ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งที่ตัวอ่อนของสัตว์น้ำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาอาศัยร่มเงาและหาอาหาร ป่าชายเลนจึงเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทะเลไทยมากที่สุด

คุณประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของป่าชายเลนอีกก็คือ การใช้ประโยชน์จากไม้ ชายเลนเพื่อการเผาถ่าน ต้นไม้ในป่าชายเลนปลูกง่าย โตเร็ว จึงมีการลักลอบตัดฟันน้อยกว่าต้นไม้ในป่าบกหลายเท่า ไม้ป่าชายเลนนอกจากจะใช้เผาถ่าน ซึ่งทำรายได้คิดเป็นมูลค่าถึงปีละประมาณ 560 ล้านบาท และยังมีการใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ คือ เป็นไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ก่อสร้าง แพปลา อุปกรณ์ การประมง และเฟอร์นิเจอร์

ป่าชายเลนยังทำหน้าที่เสมือนเขื่อนป้องกันคลื่นลมจากทะเล ที่สามารถซ่อมแซมตนเองได้เมื่อได้รับความเสียหายจากพายุ ป่าชายเลนช่วยป้องกันความรุนแรงของพายุ จนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และระบบนิเวศบริเวณถัดเข้ามา และในขณะเดียวกันป่าชายเลนยังทำหน้าที่ดักกรองสารปฏิกูลและสารมลพิษต่างๆ จากบนลกไม้ให้ลงสู่ทะเล โลหะหลากหลายชนิด เมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน นอกจากนี้ขยะและคราบน้ำมันต่างๆ ก็จะถูกกรองไว้ในป่าชายเลน

สรุปการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน

  • มีความสำคัญในการเป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
  • เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
  • เพื่อเป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
  • เพื่อควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
  • เพื่อซับน้ำเสีย
  • เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
  • ผลิตภัณฑ์จากไม้
  • เชื้อเพลิง
  • วัสดุก่อสร้าง
  • สิ่งทอและหนังสัตว์
  • อาหาร ยา และเครื่องดื่ม
  • การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง

 

ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน

ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน

ป่าชายเลน มีระบบนิเวศที่มีคุณค่ามหาศาล และมีความสำคัญต่อมนุษย์หลายรูปแบบถือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ ซึ่งได้แก่ อินทรียวัตถุที่ย่อยสลายจากซากพืชหรือเศษใบไม้ ส่วนใหญ่ได้จากใบของพืชที่ร่วงหล่น นอกจากนี้ยังได้จากส่วนของ กิ่ง ก้าน ดอก และผลอีกด้วย ส่วนแหล่งอาหารอื่นๆ ในบริเวณปากแม่น้ำ ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ ในบริเวณป่าชายเลน ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งที่ตัวอ่อนของสัตว์น้ำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาอาศัยร่มเงาและหาอาหาร ป่าชายเลนจึงเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทะเลไทยมากที่สุด

คุณประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของป่าชายเลนอีกก็คือ การใช้ประโยชน์จากไม้ ชายเลนเพื่อการเผาถ่าน ต้นไม้ในป่าชายเลนปลูกง่าย โตเร็ว จึงมีการลักลอบตัดฟันน้อยกว่าต้นไม้ในป่าบกหลายเท่า ไม้ป่าชายเลนนอกจากจะใช้เผาถ่าน ซึ่งทำรายได้คิดเป็นมูลค่าถึงปีละประมาณ 560 ล้านบาท และยังมีการใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ คือ เป็นไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ก่อสร้าง แพปลา อุปกรณ์ การประมง และเฟอร์นิเจอร์

ป่าชายเลนยังทำหน้าที่เสมือนเขื่อนป้องกันคลื่นลมจากทะเล ที่สามารถซ่อมแซมตนเองได้เมื่อได้รับความเสียหายจากพายุ ป่าชายเลนช่วยป้องกันความรุนแรงของพายุ จนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และระบบนิเวศบริเวณถัดเข้ามา และในขณะเดียวกันป่าชายเลนยังทำหน้าที่ดักกรองสารปฏิกูลและสารมลพิษต่างๆ จากบนลกไม้ให้ลงสู่ทะเล โลหะหลากหลายชนิด เมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน นอกจากนี้ขยะและคราบน้ำมันต่างๆ ก็จะถูกกรองไว้ในป่าชายเลน

สรุปการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน

  • มีความสำคัญในการเป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
  • เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
  • เพื่อเป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
  • เพื่อควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
  • เพื่อซับน้ำเสีย
  • เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
  • ผลิตภัณฑ์จากไม้
  • เชื้อเพลิง
  • วัสดุก่อสร้าง
  • สิ่งทอและหนังสัตว์
  • อาหาร ยา และเครื่องดื่ม
  • การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
  • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง

 

สภาพแวดล้อมของป่าชายเลน

สภาพแวดล้อมของป่าชายเลน

สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างไปจากป่าที่อื่นโดยเฉพาะดิน เนื่องจากมีสภาพเป็นดินเลนในที่ราบกว้างใหญ่ ดินเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่ไหลมาจากแหล่งต่างๆ เช่น จากการกัดเซาะตามชายฝั่งและแหล่งน้ำลำธาร อีกส่วนหนึ่งมาจากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงค์ตอนพืชและสาหร่าย ส่วนสภาพความเค็มของน้ำบริเวณนี้ระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีน้ำจืดไหลลงมาปะปนกับน้ำทะเลจึงทำให้น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำกร่อย ระดับความเค็มของน้ำดังกล่าวยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงเป็นประจำ มีผลต่อชุมชนในป่าชายเลนเป็นอย่างมาก โดยมีผลทางตรงต่อชนิดและการกระจายของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ดังจะเห็นได้จากป่าชายเลนแหล่งต่างๆของโลก พันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิด โดยมีแบบแผนแน่นอนจากบริเวณฝั่งน้ำเข้าไปด้านในของป่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างออกไปจากป่าบกทั่วไป พันธ์ไม้ต่างๆที่มีการปรับตัวมาจนขึ้นอยู่ได้ในเขตนี้ ที่ทำให้สามารถเจริญและแพร่กระจายได้ในบริเวณที่เป็นดินเลนลึก มีน้ำท่วมถึง จึงต้องมี รากค้ำจุน ที่แข็งแรงเป็นจำนวนมาก รากเหล่านี้ช่วยผยุงลำต้นให้ตั้งตรงอยู่ได้ไม่โค่นล้มเมื่อถูกพายุพัดหรือคลื่นซัดได้แก่พันธุ์ไม้พวกโกงกางซึ่งมีมาก ป่าชายเลนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ป่าโกงกาง

สำหรับระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนนั้นเป็นไปในแง่ของการถ่ายทอดพลังงานเป็นแบบที่เริ่มต้นด้วยเศษอินทรียสาร (detritus) ซึ่งได้จากการสลายตัวของใบไม้ในบริเวณป่าชายเลนโดยจุลินทรีย์ผู้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุเหล่านี้จะเป็นอาหารของพวกกินเศษอินทรียวัตถุ เช่น แอมฟิพอด หอย กุ้ง ปู และตัวอ่อนของแมลงต่างๆ
จากพื้นก็จะถูกกินต่อๆกันไปตามลำดับขั้นของลูกโซ่อาหาร และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเป็นผลเสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวนสัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำตามมา

ลักษณะป่าชายเลน

ลักษณะของป่าชายเลน

เป็นป่าที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นดินกับพื้นน้ำทะเล ผสมผสานกันเป็นน้ำกร่อย หากบริเวณนั้นเป็นอ่าวคลื่นลมสงบตะกอนที่มากับแม่น้ำ จะตกตะกอนลงสู่พื้น สะสมรวมตัวเป็นหาดเลนกว้างใหญ่ ลูกไม้ชายเลน เช่น โกงกางจะลอยมาตามน้ำลงปักในพื้นเลนก่อเกิดเป็นพันธุ์ไม้บุกเบิกรากดักตะกอนสะสมเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นสันดอน มีไม้ชายเลนอื่นๆมาอาศัยพัฒนากลายเป็นป่าชายเลน ป่าชายเลนของไทยกระจัดกระจายอยู่ตามชายฝั่งยาวประมาณ 927 กิโลเมตร ในเขตชายฝั่งทะเลภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชพรรณ และสัตว์นานาชนิด